เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน



เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน

คนเราทุกคนชอบเสียงเพลง มีบางที่ไม่ชอบเพลงบ้างก็เพียงแต่ไม่ชอบแนวเพลงหรือประเภทของเพลงหรือไม่อยากฟังเพลงในบางช่วงเวลาหรือบางอารมณ์เท่านั้น สังเกตได้ว่าทุกชนเผ่าหรือชนชาติจะมีดนตรีไว้บรรเลงโดยเฉพาะเพื่อความบันเทิง ไม่เว้นแม้จะเป็นชนเผ่ากลุ่มๆ ในทวีปแอฟริกา หรือที่ห่างไกลความเจริญทางวัตถุในแถบป่าดงดิบในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ชนเผ่าเหล่านั้นก็ยังมีเครื่องดนตรีง่ายๆและใช้ปากในทำเสียงประกอบท่วงทำนองและจังหวะสร้างความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี

ความหมาย
เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง หรือทำนองดนตรี และเทคนิคการใช้เพลงประกอบ การสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้ร้องหรือครูร้องให้นักเรียนฟังเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน
วัตถุประสงค์ขอ'การใช้เพลงประกอบการสอน มีหลายประการที่สำคัญ ได้แก่
1. เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานไม่เครียดและเอื้อต่อการเรียนรู้
2. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
3. เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านทางเนื้อร้องและความหมายของเพลง
4. เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

ประโยชน์ของเพลงประกอบการเรียนการสอน
1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2. ช่วยให้บทเรียนที่ดูยากดูง่ายขึ้น
3. จดจำเนื้อหาที่เรียนได้นาย
4. สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน
5. ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจ
6. สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้
7. เสริสร้างระเบียบวินัย
8. ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของนักเรียน
ลักษณะของเพลงประกอบการสอน
1. เป็นทำนองเพลงลูกทุ่งที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องติดปากแล้ว
2. แต่งเป็นบทร้อยกรองกลอนสุภาพ หรือกาพย์ยานี 11 แล้วนำมาใส่ทำนองเป็นเพลงไทยเดิมที่สนุกสนาน
3. มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง
4. เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่มีเนื้อร้องสั้นๆ ไม่ยาวจนเกินไป
5. เน้นความไพเราะสนุกสนานเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนไม่ให้เคร่งเครียด
6. หลังจากร้องเพลงเสร็จแล้ว จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับเนือหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง

การใช้เพลงประกอบการเรียนการสอนนั้น ครูจะต้องคำนึงถึงเนื้อหาของบทเพลงที่เหมาะสมกับวัยและความต้องการของนักเรียน ศิริพร หงส์พันธ์ (2540 : 257-256 ) กล่าวว่า ในต่างประเทศมีผู้ให้ความเห็นว่า เด็กจะรู้สึกสนุกสนานที่ได้ร้องเพลง ดังต่อไปนี้
1. บทเพลงเกี่ยวกับบ้านและโรงเรียง
2. บทเพลงเกี่ยวกับคน โดยเฉพาะเพลงที่เด็กๆ สามรถเติมชื่อของตนเอง หรือชื่อของเพื่อนๆลงไปได้
3. บทเพลงที่เด็กได้มีโอกาสได้ปรบมือ ทำจังหวะ และแสดงท่าทางต่างๆ
4. บทเพลงที่กำลังเป็นที่นิยม ซึงได้ยินจากโทรทัศน์ วิทยุ หรือ จากการชมภาพยนตร์
5. บทเพลงเกี่ยวกับราชการเทศบาล ฤดูกาล และวันพักผ่อนต่างๆ

เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน
1. การใช้นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการจูงใจและหันเหความสนใจของนักเรียนให้มาสู่บทเรียนที่ครูกำลังจะสอน เช่น จะสอนเรื่องอักษร ควรนำด้วยเพลงอักษรย่อรอเธอ เป็นเพลงที่ดัดแปลงมาจากเพลงลูกทุ่งรักห้าปี
2. การใช้เพลงดำเนินการสอน จะใช้เพลงเป็นตัวหลักสำคัญในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. การใช้เพลงในการสรุปบทเรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนเป็นการย้ำซ้ำเตือนอีกครั้งหนึ่ง เช่น ได้สอนเรื่องชนิดของคำไปแล้วต้องสรุปเนื้อหา ก็ใช้เพลงคำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษณ์ คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน เป็นต้น
4. ใช้เพลงสำหรับฝึก ซึ่งจะเป็นการฝึกให้ออกเสียงหรือย้ำให้เกิดความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง เช่นการสอนคำใหม่
5. ใช้เพลงในการวัดและการประเมินผล โดยการใช้เพลงเป็นส่วนประกอบในการวัด เช่น นักเรียนเรียนเรื่องคำซ้อน ซึ่งนอกจากจะใช้เพลงคำซ้อนในการสรุปเนื้อแล้ว ก็ยังสามารถใช้เพลงนั้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย

อ้างอิง
ณรงค์ กาญจนะ. 2552 เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์